ประเทศออสเตรเลีย สรุปย่อประวัติศาสตร์ ตอบคำถามคาใจ

ประเทศออสเตรเลีย (Australia) ประเทศที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สวยงาม ที่ใครหลายคนอาจจะงงๆ ว่าทำไมประเทศนี้มาอยู่ใกล้ๆ ฝั่งเอเชียกันได้ เรามาทำความรู้จักความเป็นมาประเทศออสเตรเลียกันเถอะ

เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับ ประเทศออสเตรเลีย เช่น

– ชาวออสซี่หรือฝรั่งสัญชาติออสเตรเลีย ทำไมมีลักษณะหน้าตาเหมือนชาวยุโรป?
– เมื่อมองที่แผนที่โลกแล้วเกิดความสงสัยเหตุใด ฝรั่งผมทองตาน้ำข้าวถึงมาตั้งอยู่ในเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นะ
– ทำไม ซิดนีย์ถึงคับคั่งทางเศรษฐกิจและมีคนหลายเชื้อชาติ  

เรามาหาคำตอบใน ประวัติศาสตร์ ออสเตรเลีย กันเถอะ

ประวัติศาสตร์ ประเทศออสเตรเลีย อย่างย่อๆ

มองย้อนหลังหาจุดเริ่มต้นของออสเตรเลีย

เริ่มจากการเดินทาง ในสมัยยุคสมัยแห่งการล่าเมืองอาณานิคม ระหว่างอังกฤษและอเมริกา การแข่งกันเป็นไปอย่างดุเดือด ในขณะที่อเมริกาค้นพบประเทศอินเดียแล้ว ทำให้อังกฤษส่งเรือพยามค้นหาเกาะใหม่

เนื่องจากตอนนั้นภายในประเทศอังกฤษเกิดปัญหาแร้นแค้นอาหารไม่พอ ประชาชนอดอยาก เกิดการลักขโมยเล็กๆ จนถึงรุนแรงขั้นอาญกรรม ทำให้มีนักโทษจำนวนมาก

ทางการจึงต้องการผลักดันบุคคลเหล่านี้ออกนอกประเทศ แต่ไม่สามารถขนนักโทษไปอเมริกาได้อย่างแต่ก่อน เพราะว่าอเมริกาประกาศอิสรภาพแล้วนั้นเอง ทำให้ต้องการหาเกาะใหม่

เพื่อเป็นที่จองจำนักโทษ และต้องการอาณานิคมแห่งใหม่ จนในที่สุดค้นพบออสเตรเลีย โดย เจมส์ คุก เมื่อปี 19 เมษายน ค.ศ. 1770

ประเทศออสเตรเลีย jame cook
กัปตัน เจมส์ คุก ค.ศ. 1770

กัปตันเจมส์ ได้ออกสำรวจตามชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และมาจอดเรือที่ทางตอนใต้ของซิดนีย์ (ปัจจุบัน) และตั้งชื่ออ่าวว่า โบทานี่เบย์ และประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมของอังกฤษ (British colony at Botany Bay)

tmp_19090-images(2)493007587
ธงชาติอังกฤษ
ธงชาติอ ประเทศออสเตรเลีย
ธงชาติออสเตรเลีย

ต่อมาอีก 10 ปี ค.ศ. 1788 กัปตัน อาร์เธอร์ ฟิลลิป ได้นำทัพเรือขนนักโทษ 788 คน และได้ประกาศให้พื้นที่ นิวเซาท์เวลส์เป็นอาณานิคมของ กษัตริย์จอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษ 

จากนั้นทำให้เกิดการโยกย้ายและอพยพจากประเทศอื่นๆ เข้ามามากมาย 26 มกราคม พ.ศ. 2331 (ค.ศ.1788) (ต่อมาเป็นกลายเป็นวันชาติออสเตรเลีย) ผู้อพยพเข้ามาอยู่ในช่วงแรกส่วนมากจะเป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร

ซิดนีย์ Arthur Philip
กัปตัน ฟิลลิป ค.ศ. 1788

นักโทษที่ถูกส่งมาจะถูกนำมาคัดความสามารถเฉพาะด้านไปทำงานต่างๆ เช่น ทนาย หมอ ช่างไม้ ผู้ก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อมาก่อสร้างอาคารราชการและถนน การเกษตรเพาะปลูกพืชพันธุ์ หรือ คนที่อ่านออกเขียนได้ไปทำงานไม่หนัก เป็นต้น

การสร้างและพัฒนาเมืองอาณานิคมนนี้ใช้แรงงานนักโทษทั้งชายหญิง ทำงานกันหนักมากๆ ถึงอย่างไรชีวิตก็ยังมีหวัง ด้วยนโยบายจะปล่อยตัวผู้ที่มีความประพฤติดีเป็นอิสระ

ซึ่งสมัยนั้นที่ดินกว้างใหญ่มากมายไร้ผู้จับจอง เป็นเป้าหมายให้นักโทษหลายคนทำตัวดี เพื่อต้องการตั๋วเป็นใบเบิกทางให้หลุดจากการจองจำสู่อิสระภาพ และได้สร้างตัวในดินแดนใหม่

นี้คือจุดเริ่มต้นของการหลั่งไหลของโลกตะวันตกนี้  ได้ก่อผลกระทบต่อคนท่องถิ่นอย่างมาก นั้นคือ ชาวอะบอริจิน (Aborigine) เป็นผู้อาศัยมาก่อนนานนับ 50,000 ปี ถือได้ว่าผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินนี้เลยทีเดียว

ประเทศออสเตรเลีย ชาวพื้นเมือง
ภาพจาก The Aboriginals โดย Jamiemeasures
ชาวอะบอริจินนิส คือ ใคร?

ชาวอะบอริจินนิส ลักษณะผิวดำคล้ำ ผมดำหยิก ตาลึก โหนกคิ้วสูง จมูกกว้าง ริมผีปากหนาก มีการแต่งตัวที่ใช้ดินหนาคล้ายฝุ่นสีขาวทาทั่วตัว นี้เป็นวิธีป้องกันแดดได้อย่างดี

เพราะออสเตรเลียแดดแรงมากจริงๆ ดำรงชีพ ออกหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ ใช้หอกเป็นอาวุธ เรื่องราวน่าเศร้าและโหดร้ายเกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

ชาวอะบอริจินถูกขับไล่จากพวกผิวขาวออกจากพื้นที่ถิ่นอาศัยมาช้านานตั้งแต่บรรพบุตร ถูกกดขี่แบ่งแยกผิวสี ใช้แรงงานทาส และถูกทำลายวัฒนธรรมอันมีค่าอีกด้วย

ซิดนีย์ aborigines before settlement
ชาว Aborigines ก่อนการตั้งถิ่นฐาน

ชาวอะบอริจินถูกมองเป็นพวกนอกรีตที่มีความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของจิตวิญญาณ เป็นพวกล้าหลัง มีแม้กระทั่งช่วงหนึ่งมีกฎหมายฆ่าชาวอะบอริจินไม่ผิดกฎหมาย เป็นช่วงกวาดล้างชาวเผ่าพันธุ์

วันนี้ที่รอคอย การถูกเพิกเฉยมาอย่างช้านานกว่า 200 ปี ก็ได้รับการสนใจ โดย นายกรัฐมนตรี นาย เควิน ไมเคิล รัดด์ ประกาศขอโทษชาวอะบอริจินอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2008

ซิดนีย์ national-apology-dailyTelegraph
Kevin Rudd’s historic apology on 13 february 2008

ประเทศออสเตรเลีย  ซิดนีย์ Indigenous and Non-Indigenous

เป็นบันทึกครั้งประวัติศาสตร์ ที่ยอมรับว่าเกิดเรื่องไม่ยุติธรรมต่อชาวอะบอริจิน สังคมให้การยอมรับการมีตัวตนของชาวอะบอมากขึ้น มีบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ มีจัดแสดงภาพศิลปะสไตล์ชนเผ่า เช่น แสดงการใช้เครื่องดนตรี ขลุ่ย ดิกเจอริดู Didgeridoo

ซิดนีย์ Didgeridoo
ขลุ่ย ดิกเจอริดู (Didgeridoo)

สรุป ประวัติศาสตร์ออสเตรเลียเข้าใจง่ายๆ ได้ว่า นิวเซาท์เวลส์ เป็นอาณานิคมนักโทษแห่งแรกในออสเตรเลียนั้นเอง และมีอ่าวท่าเรือแห่งแรกที่ซิดนีย์ เพื่อส่งติดต่อกับนานาประเทศนั้นเอง

ประเทศออสเตรเลีย   ท่าเรือซิดนีย์ในอดีต
ท่าเรือซิดนีย์ในอดีต ภาพจาก visitsydneyaustralia
แล้วซิดนีย์ละ?

จากที่ได้กล่าวหลายครั้งว่า ซิดนีย์เป็นเมืองที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมและเชื้อชาติ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ขอเล่าอย่างย่อๆ ว่า ออสเตรเลียเป็นดินแดนใหม่ต้องการกำลังในการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้ว่ามี 2 ยุค ที่มีการกระตุ้นให้ผู้คนจากต่างแดนเข้ามาทำงาน

ช่วงแรกในปี ค.ศ. 1800  ยุคตื่นทอง เป็นเหตุที่ทำให้มีผู้หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก เนื่องจากการค้นพบแร่ทองใน ในนิวเซาท์เวลส์ (รัฐที่มี ซิดนีย์เป็นเมืองหลวงในปัจจุบัน) โดย เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ให้ชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir)

ทำให้ผู้คนจากนานาประเทศอย่าง อเมริกา จีน ไอร์แลนด์ เยอรมัน เป็นต้น ได้เข้ามาขุดทองช่วงต้นของการค้นพบทอง ในปี 1851 ทางตะวันตกของ Sydney 150 กิโลเมตร ประชาชนที่อพยพมากเพิ่มขึ้นจาก 39,000 คน กลายเป็น 200,000 คน ในเวลา 20 ปี

Nerrena_Fossickers_in_the_Creek_Nerrena
ช่วงที่สอง ปี ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจกำลังรุ่งเรืองและเร่งฟื้นฟู่ประเทศ ผู้หญิงจำเป็นต้องออกมาทำงานนอกบ้าน แต่แรงงานในประเทศก็ไม่พอ และความต้องการเพิ่มประชากรเร่งด่วน  

ทำให้ 20 ปี หลังสงครามยุติ ได้กระตุ้นคนต่างแดนอพยพเข้ามา แต่รัฐยังยึดติดว่าต้องเป็นคนผิวขาว หลายปีต่อมามีการเปลี่ยนแนวคิดในปี ค.ศ. 1970 ออสเตรเลียเปลี่ยนนโยบาย หลายวัฒนธรรมในประเทศเดียว และนโยบายหลายเชื้อชาติในหนึ่งประเทศ เพื่อให้ดินแดนนี้บ้านสำหรับทุกคน

Argus_Collection_Fairfax

แหล่งข้อมูลและรูปภาพ ประเทศออสเตรเลีย 

History of Australia, wikipedia.com

Convicts  and the British coloines in Australia, australia.gov.au

The History of Immigration to Australia, panique.com.au

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

ออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งจ้าในแถบเอเชีย

 

ซิดนีย์ Landmark ของออสเตรเลีย